Thursday, April 24, 2008

ทำไมต้องทำติดต่อกัน 21 วัน

หลายๆคนอาจจะรู้จักแล้ว แต่เราเพิ่งเคยรู้จักหนะ เค้าบอกว่าเซลล์สมองจะเริ่มสร้างและก่อตัวเมื่อเรากำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่ถ้าหยุดทำเซลล์ที่กำลังแตกกิ่งก้านจะหยุดโตและฝ่อไป แต่ถ้าผ่านไปประมาณ 3 อาทิตย์แล้วจะมีชั้นไขมันมาหุ้ม ทำให้เซลล์ที่โตแล้วยังอยู่กับเรา (ประมาณนี้แหละนะ) เราก็ดูมาจาก link ข้างล่างอีกที

เรื่อง : หนูดี วนิษา เรซ ใน จับเข่าคุย "อัจฉริยะสร้างได้"[
http://tv.sanook.com/vdo/player.php?contentID=219165

ของเค้าดีจริง ไม่รู้ได้ดูกันหรือเปล่า ดูแล้วก์..อืมม ทึ่งในความสามารถและความคิดของผู้หญิงคนนี้ ฟังแล้วก็ได้ข้อคิดดีนะ ต้องฟังให้จบนะ ลองดู

http://women.sanook.com/dreammodel/women/women_42610.php
อันนี้เวอร์ชั่นอ่าน

วิจารณ์หนังสือ
อัจฉริยะสร้างได้ ที่ขายดิบขายดี ต้องจองกัน 1อาทิตย์กว่าจะได้อ่าน แต่ก็เป็นหนังสือดีสมการเฝ้าคอย เขียนสนุก กระตุ้นกำลังใจ และให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมอง และความสามารถที่สมองเราจะไปถึงได้ระดับอัจฉริยะในด้านต่างๆ โดยอธิบายถึงทฤษฎี "พหุปัญญา" หรือ Multiple Intelligences ของ ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) สหรัฐอเมริกา ซึ่ง "หนูดี" ผู้เขียนเป็นลูกศิษย์โดยตรง เธอจบปริญญาโท จาก Harvard ทางด้านวิทยาการทางสมอง (Neuroscience) ในโปรแกรม Mind Brain and Education และเธอก็เป็นผู้ชนะล้านที่ 15 ของรายการอัจฉริยะข้ามคืนด้วย

หนังสืออัจฉริยะสร้างได้ กล่าวถึงอัจฉริยภาพ โดยทฤษฎีพหุปัญญา ว่า มี 8 ด้าน คือ

1. ภาษาและการสื่อสาร (Linguistics Intelligence)
พูดได้หลายภาษา ชอบพกหนังสือติดตัว ชอบแต่งกลอนแต่งเพลง ชอบเขียน ชอบเล่าเรื่องที่อ่านให้คนอื่นฟัง คุณหนูดียังสอนวิธีการอ่านเร็วให้ไว้ด้วย
2. ร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic Intelligence)
พวกชอบขยับเขยื่อนเคลื่อนไหว เล่นกีฬา เต้นรำ ประดิษฐ์ของ บังคับเครื่องยนต์ หรือใช้อุปกรณ์เก่ง ไปไหนใกล้ๆมักก็จะเดินไป
3. มิติสัมพันธ์และการจินตภาพ (Spatial Intelligence)
จะเป็นคนพวกจินตนาการเก่ง จำเป็นภาพ คิดเป็นภาพ ชอบวาดรูป ชอบดูรูป อ่านแผนที่เก่ง ชอบต่อจิ๊กซอว์ ชอบไฮไลท์เวลาอ่านหนังสือ
4. ตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
ชอบวางแผน คิดเลขในใจเร็ว กะระยะทาง-น้ำหนัก-ความสูงเก่ง คิดตามเหตุตามผล และชอบเล่นหมากรุก หรือเกมส์วางแผน
5. การเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
มั่นใจในตัวเอง ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง กล้าปฏิเสธ อยู่คนเดียวได้สบาย ปลอบใจตัวเองได้ดี ดูแลตัวเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ชอบถามตัวเองว่าเกิดมาทำไม จุดหมายชีวิตคืออะไร และตั้งเป้าหมายของชีวิต
6. การเข้าใจผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
มีเพื่อนหลายกลุ่ม ชอบช่วยเหลือคน เข้าใจความรู้สึกคนอื่นได้ดี สังเกตุอารมณ์คนอื่นได้ ชอบทำงานอาสาสมัคร
7. การเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence)
เดาได้ว่าอากาศจะเป็นอย่างไร ชอบธรรมชาติ ชอบใช้วัสดุธรรมชาติ ชอบทำอาหาร ปั้นดินเผา หล่อโลหะ มีเซนส์ทางนี้ ปลูกต้นไม้งาม ชอบอยู่นอกห้องแอร์ ชอบสังเกตุสภาพแวดล้อม เอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆได้
8. ดนตรีและจังหวะ (Musical Intelligence)
ชอบฟังเพลง เล่นดนตรี ชอบเคาะหรือทำอะไรเป็นจังหวะ แยกเสียงเครื่องดนตรีได้ ชอบแปลงเพลง

อัจฉริยะสร้างได้ กล่าวว่า เราสามารถฝึกให้เป็นอัจฉริยะได้ในทุกๆด้าน อ่านแล้วก็อาจจะพบว่าเราเอง และคนใกล้ตัวก็เป็นอัจริยะในหลายๆด้านเหมือนกัน อัจฉริยะสร้างได้จะบอกถึงวิธีสังเกตุความอัจฉริยะ และวิธีพัฒนาอัจริยภาพในด้านต่างๆ และมีบทความจากผู้ที่เป็นอัจฉริยะด้านต่างๆให้อ่านด้วย โดยทั้งหมดเป็นผู้ชนะและผู้เข้าร่วมรายการอัจฉริยะข้ามคืน

อย่างที่บอก นอกจากเป็นหนังสือดีแล้ว ยังกระตุ้นกำลังใจอีก คือจะบอกให้เราพยายามฝึกฝน ฝึกฝน ฝึกฝน อย่างที่เคยเขียนไว้ในไม่มีอะไรทำไม่ได้ ยังไงยังงั้น เพราะสมองจะสร้างเส้นใยใหม่ๆมา ถ้าเราไม่ฝึกต่อไป เส้นใยใหม่ที่ไม่แข็งแรงก็จะหายไป และอัจฉริยะสร้างได้ก็บอกให้เราเปิดตัวเอง เปิดใจ และไม่ให้จัดประเภทของคนและสิ่งของมากจนเกินไป คุยกับคนใหม่ๆ ทำสิ่งใหม่ๆ อันนี้ก็ตรงกับที่เคยเขียนในลองทำอะไรใหม่ๆ!เหมือนกัน เพราะสมองจะหลั่งสารแห่งการเรียนรู้ หรือ โดพามีน (Dopamine) ออกมาทุกครั้งที่เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ หรือแม้แต่ได้ของใหม่ก็ตาม ทำให้เรารู้สึกมีความหวัง รู้สึกสดชื่น เต็มๆในอก และถ้าสมองหลั่งโดพามีนออกมาบ่อยๆ มันก็จะหลั่งโดพามีนออกมาอย่างง่ายดายในครั้งต่อๆไป เราก็มีความสุข มีความหวัง

นอกจากนี้ คุณหนูดียังแนะทิปที่ดีกับสมองหลายอย่าง เช่น นั่งตัวตรง ยืนตัวตรง เพราะจะทำให้ร่างกายรับอ็อกซิเจนได้เยอะ และก็ไปเลี้ยงสมองได้ดี และก็จิบน้ำบ่อยๆ เพราะสมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบเยอะ น้ำดีต่อสมองค่ะ

อย่างไรก็ตาม อัจฉริยะสร้างได้นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของหนูดีเยอะ ว่าทำอะไรมาบ้าง และทำได้ดี โดยจากที่อ่านดู หนูดีเป็นคนที่ขยันและตั้งใจเรียน เหมือนเด็กสอบได้ที่หนึ่งทั่วไปอยู่แล้ว ถ้าอยากเก่งเหมือนหนูดี นอกจากจะใช้เทคนิคต่างๆที่เธอแนะนำแล้ว ก็ขอบอกว่า ต้องขยันๆและตั้งใจด้วยจ๊ะ ใช้อิทธิบาท 4 แบบชาวพุทธเราเลย คือ มีความรักความชอบก่อน แล้วก็พยายาม แล้วเอาใจใส่ และคิดพิจรณาวิเคราะห์ว่า เราจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นได้ หนูดีเองก็บอกว่า สมองชอบจำในสิ่งที่ชอบและ เรื่องที่เกี่ยวกับสมองทุกเรื่องมีหลักการเดียว คือ ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน และอีกอย่าง คนเราทำอย่างเดียวให้ดี...ไม่ดีหรอก แต่เราควรทำอย่างหนึ่งให้ดีเลิศไปเลย แล้วทำอย่างที่เหลือให้ดี...จะดีกว่า
ข้างบนจาก link
http://developed-thailand.blogspot.com/2007/08/blog-post_12.html

คัดลอกมาจาก http://www.cp.eng.chula.ac.th/webboard/viewtopic.php?t=7759

Wednesday, April 02, 2008

"โนเบลเลข 2008" ยกให้ 2 ปรมาจารย์ผู้สร้างทฤษฎีกลุ่มสู่วิธีแก้รูบิก

เอพี/เอเยนซี - มอบ "เอเบลไพรซ์" แก่ 2 นักคณิตศาสตร์อเมริกัน-ฝรั่งเศสผู้พัฒนาแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ "ทฤษฎีกลุ่ม" ซึ่งประยุกต์สู่วิธีแก้รูบิกและการศึกษารูปแบบการหมุนของรูปทรงหลายหน้า รวมถึงการศึกษาเรขาคณิต ฟิสิกส์และวิทยาการคอมพิวเตอร์

สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์แห่งนอร์เวย์ (Norwegian Academy of Sciences and Letters) มอบรางวัลเอเบลไพรซ์ (Abel Prize) ประจำปี 2551 ให้แก่ ศ.จอห์น กริกก์ส ธอมป์สัน (Prof.John Griggs Thompson) นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันวัย 75 จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) และ ดร.ฌาคส์ ทิตส์ (Dr.Jacques Tits) นักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศสเชื้อสายเบลเยียมวัย 77 ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณจากคอลเลจ เดอ ฟรองซ์ (College de France)

ทั้งนี้คณะกรรมการผู้มอบรางวัลกล่าวว่าทั้งสองได้สร้างรูปแบบทฤษฎีกลุ่มสมัยใหม่ (modern group theory) ซึ่งเป็นศาสตร์ทางด้านพีชคณิต ในบางครั้งเรียกทฤษฎีดังกล่าวว่า "ศาสตร์แห่งความสมมาตร" (science of symmetries) ซึ่งใช้แก้ความท้าทายลูกบาศก์ของรูบิก (Rubik's Cube) ได้ หรือยังนำไปในการแก้ปัญหาทางเรขาคณิต ฟิสิกส์และวิทยาการคอมพิวเตอร์อีกด้วย

"ผลงานของจอห์น ธอมป์สันและฌาคส์ ทิตส์เป็นความลึกซึ้ง และมีอิทธิพลอย่างไม่ธรรมดา เขาทั้งสองประกอบชิ้นส่วนสำคัญของทฤษฎีกลุ่มสมัยใหม่เข้าด้วยกัน" คำประกาศสดุดีผลงานของทั้งสอง

คณะกรรมการรางวัลยังกล่าวอีกว่าธอมป์สันและทิตส์ต่างสร้างแนวคิดใหม่ที่มีความสำคัญมากในทฤษฎีกลุ่ม ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นักคณิตศาสตร์ใช้แสวงหาความเข้าใจในความสัมพันธ์ ระหว่างการพับกลับและการหมุนของรูปทรงยี่สิบหน้า (icosahedron) ซึ่งมีด้านข้างหลายหน้า

หนึ่งในการนำผลงานของนักคณิตศาสตร์ทั้งสองไปประยุกต์คือ การสาธิตด้วยลูกบาศก์รูบิกโดย ศ.อาร์น บี.สเลตโจ (Prof.Arne B. Sletjoe) นักคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออสโล (University of Oslo) ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งทฤษฎีกลุ่มช่วยให้นักคณิตศาสตร์คำนวณจำนวนและลำดับในการหมุนที่จำเป็นเพื่อทำให้สีของลูกบาศก์เล็กๆ ในรูบิกกลับคืนสู่หน้าที่ถูกต้อง

"ในมุมมองเชิงทฤษฎีกลุ่ม เรื่องนั้นรูบิกไม่ใช่สิ่งที่ยากจะเข้าใจนัก อย่างไรก็ดีการจำลำดับและทำให้ลูกบาศก์เรียบร้อยค่อนข้างยุ่งยาก ทั้งนี้ลูกบาศก์รูบิกไม่ใช่เป็นเพียงตัวอย่างที่ดีของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกลุ่ม แต่ยังเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของความจริงที่ว่า ทฤษฎีก็เป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการนำไปใช้ภาคปฏิบัติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง" ศ.สเลตโจแสดงความเห็นดังกล่าวผ่านรายงาน

สำหรับ ศ.ธอมป์สันนั้นเกิดที่เมืองออตตาวา มลรัฐคันซัส สหรัฐฯ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในปี 2498 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ในปี 2502

ธอมป์สันเริ่มงานสอนที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Havard University) จากนั้นก็สอนที่มหาวิยาลัยชิคาโก ก่อนที่ย้ายไปอังกฤษซึ่งเข้าใช้เวลาถึง 23 ปีสอนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) แต่ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่มลรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ และสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา

ส่วน ดร.ทิตส์นั้นเกิดใกล้ๆ แถวกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม เขาเข้าเรียนได้เข้ามหาวิทยาลัยฟรียูนิเวอร์ซิตี ออฟ บรัซเซลส์ (Free University of Brussels) ตั้งแต่อายุ 14 ปี และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่ออายุได้เพียง 20 ปี จากนั้นเขาก็ได้สอนที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว

ต่อมาในปี 2507 ทิตส์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) ก่อนที่จะรับเป็นประธานกลุ่มศึกษาทฤษฎีกลุ่มที่มหาวิทยาลัยฝรั่งเศสเมื่อปี 2516 จนกระทั่งเกษียณเมื่อปี 2543

รางวัลเอเบลไพรซ์มอบขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 โดยรัฐบาลนอร์เวย์ และตั้งชื่อตาม นีลส์ เฮนริค เอเบล (Niels Henrik Abel) นักคณิตศาสตร์นอร์เวย์ที่มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 19

ทั้งนี้ปีที่ผ่านมา ศรีนิวาส วาราธาน" (Srinivasa Varadhan) ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย จากสถาบันวิทยาการคณิตศาสตร์คูแรนท์ (Courant Institute of Mathematical Sciences) มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) สหรัฐฯ ได้รับรางวัลนี้ จากผลงานเกี่ยวกับหลักการค่าเบี่ยงเบนขนาดใหญ่ (Large Deviation)

สำหรับปีนี้มีพิธีมอบรางวัลอย่างเป็นทางการในปีนี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 20 พ.ค.51 ณ กรุงออสโล นอร์เวย์

ทั้งนี้ แม้ว่าเอเบลไพรซ์ได้รับการยกย่องให้เป็น "โนเบล" สำหรับสาขาคณิตศาสตร์ แต่ก็ยังมีรางวัลสำหรับนักคณิตศาสตร์อีกรางวัล ที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีไม่แพ้กันนั่นคือรางวัล "ฟิล์ดมีดัล" (Field Medal) ซึ่ง ศ.ธอมป์สันเองก็เคยได้รับรางวัลหลังนี้เมื่อปี 2513 โดยขณะนั้นเขามียังอายุไม่ถึง 40 ปี.


ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000038926